เข้าโรงกันไปหมาดๆ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2024 สำหรับภาพยนต์ใหม่ล่าสุดจากค่าย Disney Pixar อย่างเรื่อง Inside Out 2 มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง 2 หลังจากภาคแรก Inside Out 1 (อำนวยการสร้างโดย Pete Docter) ที่ฉายในปี 2015 ได้รับเสียงตอบรับอย่างล้นหลาม กวาดรายได้ไปมากกว่า 800+ ล้านเหรียญพร้อมรับรางวัลใหญ่ รางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยมประจำปี 2015 ไปครอบครองอย่างสมเกียรติ สู่การกลับมาอีกครั้งในรอบเกือบ 10 ปีที่ทุกคนเฝ้ารอกับมหัศจรรย์อารมณ์อลเวงภาค 2
Inside Out 2 ตัวละครใหม่ มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง 2 ภาพยนต์อนิเมชั่นที่หลายๆ คนต่างเฝ้ารอ
บอกเลยว่าใช้เวลารอกันแบบจุๆ เพราะเนื้อเรื่องของสาวน้อยไรลีย์ (Riley) ใช้เวลkในการปั้นเนื้อเรื่องที่น่าสนใจร่วมกว่า 9 ปี สำหรับการกลับมาในครั้งนี้ของเรื่อง Inside Out 2 ที่ Pete Docter ได้ส่งไม้ต่อให้กับ Mark Nielsen ผู้ที่เคยร่วมงานกับหลากหลายอนิเมชั่นดัง เช่น Onward, Toy Story 4, Cars 2, Ratatouille ฯลฯ แค่เห็นตัวอย่างอนิเมชั่นที่เคยผ่านมือของมาร์กมาก็น่าสนใจเหลือล้นเลยทีเดียว
หลังจากผลตอบรับที่เกินคาดของ Inside Out 1 อนิเมะชั่นเรื่องนี้จึงได้รับการอนุมัติให้ไปต่อได้แบบไม่ต้องสงสัยแต่การฉายเรื่องราวภายในหัวของ Riley ลงสู่จอแก้วนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะทางทีมต้องทำการตัดสินใจวางโครงเรื่องทั้งในด้านความคิด การเติบโตและการเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงวัยของ Riley ที่ซับซ้อนและแยบยลมากยิ่งขึ้น โดยได้ทำการศึกษา ค้นคว้าข้อมูลและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ นักจิตวิทยาเพื่อให้เข้าใจความคิดของเด็กๆ ที่ก้าวเท้าเข้าสู่ "วัยแตกเนื้อสาว" ได้อย่างถูกต้อง
นอกไปจากการค้นคว้าในเชิงภาคทฤษฎี การรังสรรค์เรื่องราว Inside Out 2 ตัวละครใหม่ มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง 2 ทีมงานยังได้ทำการพูดคุยและปรึกษากับกลุ่มวัยรุ่นสาว (อายุ 13-16 ปี) จากหลากหลายเชื้อชาติ เพื่อช่วยตรวจสอบให้แน่ใจว่าการแสดงอารมณ์ การตัดสินใจของ Riley ที่ถูกสร้างเรื่องราวออกมาเป็นเบื้องลึกอารมณ์ของวัยรุ่นจริงๆ
เนื้อเรื่องย่อ Inside Out 2 มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง 2
เนื้อหาของ Inside Out 2 เป็นการหยิบเอาเรื่องราวของ Riley ในช่วงที่โตขึ้นจากภาคแรกอีก 2 ปี ทำให้ในเรื่องมหัศจรรย์อารมณ์อลเวง 2 Riley จะมีอายุ 13 ปี ถ้านับเป็นช่วงการศึกษาของประเทศไทยก็จะเทียบเท่ากับมัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม.2) เนื้อหาเน้นการเล่าเรื่องราวการเติบโตของสาวน้อย Riley ที่มีเพลงวงโปรด ต้องการการยอมรับจากเพื่อนฝูงและสังคม การรับรู้หรือรู้ว่าตนเองเป็นคนดี มีคุณค่ากับคนรอบข้าง
เอาจริงๆ โครงเรื่องย่ออาจเข้าใจได้ไม่ยากนักเลยค่ะ ให้เราลองคิดย้อนไปในช่วง ม.ต้น ถ้าง่ายหน่อยก็อาจจะเป็นช่วงที่เราเข้า ม.1 ใหม่ ทุกอย่างมันดุกระตุ้นตากระตุ้นใจเราไปได้หมด ทั้งเพื่อนใหม่ สถานที่ใหม่ ในหัวของเราเต็มไปด้วยหลากหลายอารมณ์ โดยหลักๆ จะเน้นไปที่ความกลัว ความกังวลว่าทุกอย่างจะเป็นไปได้ดีไหม ความอิจฉา ริษยา ต้องการอยากมีแบบคนอื่น ความประหม่าและเขินอายที่จะต้องทำอะไรสีกอย่าง
สู่ 4 อารมณ์ใหม่ (New Characters) ใน Inside Out 2 มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง 2
จากเดิมอารมณ์ภายในหัวของ Riley ในช่วง 2 ปีก่อน (หรือ 9 ปีก่อนซึ่งเป็นภาคแรก) จะประกอบด้วยทั้งหมด 5 อารมณ์ ได้แก่ ลั้ลลา (Joy) เศร้าซึม (Sadness) ฉุนเฉียว (Anger) กลั๊วกลัว (Fear) และหยะแหยง (disgust) โดยใน Inside Out 1 ทำให้เราได้ขบคิดและตกผลึกกับตัวเองได้ว่า เราไม่จำเป็นต้องมีความสุขในทุกๆ เวลาก็ได้นะ ความเศร้า ความโกรธ ความกลัวหรืออารมณ์ขยะแขยง ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตขอเพียงแค่ให้เราโอบกอดทุกอารมณ์ของตัวเองไว้ให้ได้อย่างมั่นเหมาะก็เพียงพอ
Riley หญิงสาวตัวละครหลักของเรื่อง Inside Out 2 (ภาพจาก Facebook: Pixar) |
สู่การเติบโตของสาวน้อย Riley วัย 11 ปี สู่ 13 ปี ระบบควบคุมภายในสมองถูกจัดเตรียมขึ้นมาใหม่อีกครั้ง (การขยาย console ควบคุมถูกแก้ไขครั้งสุดท้ายในตอนจบของภาค 1) พร้อมการมาถึงของ 4 อารมณ์ใหม่ใน Inside Out 2 ได้แก่ ว้าวุ่น (Anxiety), อิจฉา (Envy), เขินอาย (Embarrassment) และ เบื่อหน่าย (Ennui)
สนใจรับน้องๆ ตุ๊กตา In Side Out ไปครอบครองกันสักตัวไหม?
ภาพจาก Facebook Taketoys.th
ตุ๊กตา In side Out 2 ลิขสิทธิ์แท้จาก Take toys.th คลิกที่ Link ได้เลย >> https://s.shopee.co.th/VnY88B8aM Link Affiliate สมทบค่าขนมผู้เขียนจ้า (*´∇`*)
1.ว้าวุ่น (Anxiety)
อารมณ์ใหม่ที่ดูคล้ายเป็นตัวหลักในการเติบโตของ Riley เป็น ว้าวุ่น ตัวละครสีส้ม มาพร้อมทรงผมยุ่งเหยิงนิดๆ ที่เราเห็นก็สัมผัสได้ถึงความแสบๆ คันๆ ลักษณะนิสัยของน้องว้าวุ่นจะเป็นตัวละครที่เต็มไปด้วยความวิตกกังวล (ที่มากกว่าตัวละครกลั๊วกลัว) การมองโลกในแง่ร้ายพร้อมคาดคะเนเรื่องแย่ที่สุดที่น่าจะเกิดขึ้นได้ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้จิตใจของ Riley เริ่มปั่นป่วน การตัดสินใจของเธอไม่คงที่หรือเต็มไปด้วยความลั้ลลา (Joy) เหมือนอย่างเคย และแน่นอนว่าการเข้ามาของน้องว้าวุ่นก็กลายเป็นประเด็นสำคัญของ Inside Out 2 ที่เหล่าอารมณ์ต่างๆ ต้องออกมาช่วยเหลือ Riley กันในตอนท้ายที่สุด
2.อิจฉา (Envy)
มนุษยืกับความอิจฉา ริษยานั้นนับเป็นของคู่กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง ม.ต้น เจือไปทาง ม.ปลาย ที่เราอาจได้ยินกันมาอยู่บ่อยๆ ว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ น้องอิจฉาเป็นตัวละครใหม่มาในสีเขียวมินท์ ตัวของเธอเล็กดูน่ารัก ผมของเธอสั้นและฟูเล็กน้อย ลักษณะนิสัยของน้องอิจฉา คือ การปรารถนาทุกอย่างที่เธอไม่มี ความต้องการเป็นที่ยอมรับจากเพื่อนๆ การอิจฉาคนอื่นที่ดีกว่าในสายตาของเธอ
3. เขินอาย (Embarrassment)
เจ้าก่อนความเขินอายที่รับรองได้เลยว่าไม่ว่าใครต่างก็ต้องมี น้องเขินอายเป็นตัวละครเพศชายที่ตัวสูงใหญ่ ผิวสีชมพู เขามีจมูกขนาดใหญ่และชอบใส่เสื้อฮู้ดดี้ปิดหน้าปิดตาอยู่เสมอตาม character ความเขินอาย ความม้วนบิดปิดบังของเขา ตัวละครน้องเขินอายดูคล้ายว่าจะมาคอยเบรกกความลั้ลลา มองโลกในแง่บวกของ Joy ได้เช่นเดียวกันเพราะทันทีที่เขารู้สึกว่าสิ่งที่ลั้ลลาได้ทำมันออกจะเยอะไปเสียหน่อย น้องเขินอายก็อาจจะเข้ามามีบทบาทเพื่อให้เรื่องราวดูเบาลง
4.เบื่อหน่าย (Ennui)
คำนี้อ่านผ่านๆ อาจอ่านเป็น "เอ็น-นุย" แต่ความจริงแล้วคำว่า Ennui เป็นคำยืมมาจากภาษาฝรั่งเศส และอ่านออกเสียงว่า "อัน-วี (än-ˈwē) " แปลได้ว่า ความรู้สึกเบื่อ ความเหนื่อยหน่าย ความไม่พอใจ ลักษณะของเจ้าเบื่อหน่ายมาในมู้ดของเด็กหนุ่มที่แค่มองเผินๆ ก็รู้ว่าหอบหิ้วความเบื่อมาเต็มหลัง เขามีผิวพรรณและผมสีม่วงเข้ม เดินมาในลักษณะงุ้มงอพร้อมมีมือถือติดอยู่ในมือของเขาตลอดเวลา
ถ้าเปรียบเทียบระดับการ Anti-joy น้องว้าวุ่นจะมาในลักษณะของการก่อกวนความสุข ก่อกวนความคิดบวก ส่วนน้องเบิ้มเขินอายดุเหมือนจะเป็นคนที่คอยฉุดกระชากไม่ให้ลั้ลลาทำงานได้อย่างเบิกบาน และเจ้าเบื่อหน่ายที่ดูเหมือนจะไม่ชอบอะไรที่ลั้ลลาทำเลยสักอย่าง เพราะอะไรน่ะเหรอ? เพราะเขาต่อต้านความสุขไงล่ะ
ส่วนตัวเรามองว่าการเพิ่มเข้ามาของ 4 อารมณ์ใหม่ในเรื่อง Inside Out 2 เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆ ในช่วงวัยรุ่นตอนต้น ความจริงอารมณ์ในช่วงแตกเนื้อสาวหรือแตกหนุ่มมันมีอะไรซับซ้อนมากจริงๆ แต่อารมณ์หลักๆ ที่เราพอจะคิดกลับไปได้ก็ไม่พ้น 4 อารมณ์นี้จริงๆ ค่ะ ซึ่งก็คือ
- ว้าวุ่น (Anxiety) ว้าวุ่นกลัว วิตกกังวล กลัวว่าทุกอย่างที่เราทำมันจะดูไม่ดีในสายตาคนรอบข้าง กลัวว่าจะเกิดกรณีที่แย่ที่สุดของทุกเรื่อง และแน่นอนว่าชีวิตวัยเด็กของเราเรื่องบางเรื่องที่ดูเล็กน้อยแต่มันใหญ่โตมากๆ สำหรับเรา นั่นเป็นเพราะขนาดโลกของเรามันยังเล็กจิ๋วนั่นเอง
- อิจฉา (Envy) อิจฉาเพื่อนหรือคนรอบตัวที่เขาทั้งดูสวยกว่า ดีกว่า เรียนเก่งกว่า อิจฉาคนที่มีโทรศัพท์รุ่นใหม่มาใช้ได้อย่างรวดเร็ว อิจฉาเพื่อนๆ ที่พ่อแม่เขาาพไปเที่ยวในวันหยุด ฯลฯ แค่คิดเรื่องความอิจฉาที่เคยผุดในหัวใจตอนช่วง ม.ต้น ก็ยาวไปหางว่าว
- เขินอาย (Embarrassment) เวลาที่เราต้องพูดกับคนแปลกหน้า หรือตอนที่เราต้องออกไปนำเสนองานหน้าชั้นเรียน ทุกวันนี้ยังจำเสียงหัวใจสั่นๆ น้ำเสียงเครือๆ มือที่เย็นเฉียบและมีเหงื่อไหลออกมาเยอะกว่าปกติได้เลย
- เบื่อหน่าย (Ennui) ตอนช่วงวัยรุ่นตอนต้นความเบื่อหน่ายมักเป็นความเบื่อหน่ายที่ไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามความชอบ เราไม่สามารถนอน ตื่น หรือกินในเวลาที่ตัวเองอยากทำได้สักเท่าไหร่เพราะมันยังอยู่ในหูในตาของพ่อแม่และครอบครัว ส่วนตัวเราแล้วความเหนื่อยหน่ายจะมาชัดในช่วงวัยกลางคนเพราะเหมือนได้ตกผลึกความคิดในหลายๆ ด้านเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นเอง
แล้วอารมณ์ในแต่ละวันของเพื่อนๆ เป็นแบบไหนบ้าง อย่าลืม comment share กันไว้ได้เลยนะ ใครที่อยากรับชม Inside Out 2 มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง 2 ก็สามารถเข้ามาไปเช็กรอบฉายหนังของเมเจอร์ หรือที่อื่นนๆ ได้เลย